วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีชายชาวลานนาคนหนึ่ง อยู่กับพ่อผู้ยังชีพด้วยการทำสวน แม่ของเขาตายเสียตั้งแต่เมื่อเขายังจำความไม่ได้ ความสงสารลูกประกอบทั้งความยากจน ชายผู้พ่อก็มิได้แต่งงานใหม่ เลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ด้วยมือของตัวเอง ช่วยกันรดน้ำพรวนดิน เก็บพืชพักผลไม้ขาย บางทีก็อดมื้อกินมื้อ ฐานะขัดสนพยายามเลี้ยงลูกชาย มาจนลูกชายนั้นอายุได้ 15 ปีอยู่มาวันหนึ่ง ชายผู้พ่อรู้สึกตัวว่าไม่สบายมาก และมีลางสังหรณ์ว่าตัวนั้น คงจะอยู่ได้ไม่นาน จึงมีความเป็นห่วงลูกชายเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังโตไม่พอที่จะเลี้ยงตัวได้ ชายผู้พ่อแข็งใจทำตะกรุดขึ้น 3 ดอก เป็นกะกรุดใหญ่ ถักเชือกขั้นเป็นเปราะ 3 ดอก แล้วยื่นให้แก่ลูก พลางบอกลูกด้วยเสียงอันแหบแห้งว่า"อ้ายหนู เอ็งเอาตะกรุดนี้แขวนคอไว้ อย่าให้ถอดออกจากตัวได้ เมื่อไหร่เอ็งตกยากเข้าที่อับจน เอ็งก็แกะตะกรุดดอกแรก ทางขวามือออกคลี่ แล้วอ่านจารึกในตะกรุดดู ความทุกข์ยากจะหายไปทั้งสิ้น หมดบุญพ่อแล้วก็มีแต่ตะกรุดนี่แหละ ที่จะคอยช่วยเหลือเอ็งได้"ลูกชายเอื้อมมือไปรับเชือกที่ร้อยตะกรุด 3 ดอก พลางร้องไห้สะอึกสะอื้นไปพลาง แข็งใจตอบไปตามคำสั่ง ไม่ต้องห่วงฉันดอก หลับเสียบ้างจะได้พัก แล้วจะได้หายเจ็บ ว่าแล้วชายหนุ่ม ก็เอาสร้อยเชือกเส้นนั้นแขวนที่คอไว้แล้วในที่สุดพ่อเขาก็ตาย ลูกชายจึงจัดการเผาศพพ่อตามประเพณี อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเสร็จพิธีศพพ่อแล้ว ชายหนุ่มมาคิดว่า "เราจะอยู่ที่เก่าทำสวนกินคนเดียว คงเป็นไปไม่ได้ เราไปหากินตายเอาดาบหน้าจะดีกว่า พ่อก็ดูเหมือนอยากจะให้เราทำอย่างนั้น"คิดแล้วชายหนุ่มก็เก็บข้าวของห่อผ้าขาวม้า ออกเดินมุ่งหน้าลงมาทางใต้ เขาไปที่ไหนก็พยายามหางานทำ โดยไม่เลือกงาน แต่ก็หาไม่ได้ เร่รอนผ่านเมืองต่างๆ ลงมาหลายเมือง เงินทองเล็กๆ น้อยๆ ที่พ่อทิ้งไว้ให้และเอาติดตัวมา ก็ร่อยหรอจนหมดตัว ต้องเอาแรงงานแลกข้าวชาวบ้านกินวันหนึ่งเขาไปขอข้าวบ้านใครกินไม่ได้ เพราะแต่ละบ้านก็ยากจนด้วยกันทั้งนั้น ผ่านลำธารหรือคลอง เขาก็ก้มลงช้อนน้ำกินดับความหิวในที่สุดหิวจนทนไม่ได้ เกิดอาการหน้ามืดเดินต่อไปไม่ไหว เขานึกถึงคำที่พ่อสั่งขึ้นมาได้ เขาจึงแก้ตะกรุดลูกที่ 1 ออกมาคลี่ดูปรากฎว่าเขาอ่านตัวอักษรในตะกรุดนั้นไม่ออก ต้องไปขอให้สมภารวัดข้างทางอ่านให้ คาถาในตะกรุดนั้นเขียนไว้แปลได้ว่า "หากเห็นพระสงฆ์องค์ใดอยู่ใกล้ๆ ให้ขอข้าวสุกท่านกิน และขออยู่กับท่าน"พระผู้อ่านจารึกในตะกรุด จึงชวนชายหนุ่มให้อยู่ที่วัดเสียระยะหนึ่งก่อน จะได้มีทั้งที่กินและที่นอน ไม่ต้องตุหรัดตุเหร่ต่อไป ชายหนุ่มก็ปรนนิบัติพระ ด้วยความขยันขันแข็ง จนพระสมภารเกิดความเมตตาสอนหนังสือให้ จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว ชายหนุ่มจึงคิดในใจว่า"พระอาจารย์ก็มีความเมตตากรุณาตัวเราเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าเราจะอยู่อย่างนี้ ก็คงจะต้องเป็นลูกศิษย์พระไปจนตาย จะลองนำความคิดนี้ไปปรึกษาพระอาจารย์ดู"พระอาจารย์เมื่อฟังลูกศิษย์ปรารภก็เกิดเห็นด้วย จึงอนุญาตให้เขาลาเดินทางผจญโชคต่อไป แต่โชคไม่ช่วยทั้งๆ ที่เขาเป็นคนดี และขยันขันแข็งยิ่งเดินทางไปๆ ก็ยิ่งจนลงๆ หางานอะไรทำก็ไม่ได้ จะถึงต้องอดมื้อกินมื้อ จนในที่สุดเดินไม่ไหว เขาจึงตัดใจแกะตะกรุดดอกที่สองออกมา คลี่อ่านข้อความในตะกรุดนั้นเป็นภาษาหนังสือธรรมดา บอกไว้ว่า"ต้นไม้เป็นเงินเป็นทอง" ชายหนุ่มเข้าใจความสั้นๆ นี้เป็นอย่างดี จึงเข้าป่าตัดฟืนมาขายได้เงินทองมาซื้ออาหารกิน เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ สิ้นทุกข์ไปอีกระยะหนึ่ง ในที่สุดฟืนก็หมดป่า ทำให้เขาตกอับต้องยากจนอย่างเดิมอีก เมื่อหมดหนทาง เขาจึงแกะตะกรุดดอกสุดท้ายออกมาคลี่ดู ความที่จารึกไว้สั้นๆ มีว่า"ของที่แน่นอนอยู่ในไร่" พออ่านจบเขาก็เข้าใจทันที เสียใจที่ตนทิ้งไร่และสวน อันเป็นสมบัติของพ่อแม่เสีย หากเขาหยุดการเร่ร่อน กลับไปยังที่ดินของตัว หักล้างถางพง เริ่มทำสวน ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ทำจริงจัง หยุดเร่ร่อนก็จะตั้งหลักแหล่งได้เมื่อคิดได้ดังนั้น เขาจึงเกิดความปลอดโปร่งใจ รีบเดินทางกลับมาอยู่บ้านเดิม ชาวบ้านแถวนั้นก็คุ้นเคยกันมาก่อน เดินผ่านบ้านไหนต่างก็เรียกชายหนุ่ม ให้ขึ้นไปกินข้าวบนเรือน และมิได้เรียกแต่ปาก ขยั้นขยอให้ร่วมรับประทานอาหาร ตามอัธยาศัยของชาวบ้านไทย ชายหนุ่มเกิดความรู้สึกเสียดายเวลาที่ผ่านไป และที่ตนตัดสินใจทิ้งถิ่นเดิม ไปในที่ใหม่ ขาดทั้งความจัดเจนในพื้นที่ ขาดทั้งคนชอบพอคุ้นเคยเพื่อนและญาติ จึงทำให้เขาต้องลำบากอยู่นานหลังจากได้รับความอบอุ่น จากการต้อนรับของเพื่อนบ้าน ที่รู้ว่าเขาเป็นคนกำพร้าทั้งพ่อและแม่ เขาก็เกิดกำลังใจ หักล้างถางพง ชาวบ้านก็นำเอาเม็ดพืชพันธุ์ มาบริจาคให้ตามมีตามเกิดไม่ช้าไม่นานเขาก็ได้เก็บผักขาย ต่อมาต้นไม้ทั้งเก่าและใหม่ก็ได้ผล หลังจากเขาแต่งงาน กับลูกสาวชาวบ้านหน้าตาหมดจด และขยันขันแข็งแล้ว สองคนผัวหนุ่มเมียสาวก็ช่วยกันทำมาหากิน จนเก็บเงินทองได้ ไม่ลำบากอีกจนตายทั้งลูกชายลูกสะใภ้ ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อ เขาเอาตัวรอดได้เพราะตะกรุดของพ่อแท้ๆ เขาจะลืมบุญคุณ และความรักห่วงใย ของพ่ออย่างไรได้

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เที่ยวบ้านแม้ว-เมืองประชาธิปไตยกลางเขา

ชาว "แม้ว" ปัจจุบัน(ผู้ที่ไม่รู้ความเป็นมา)มักคิดว่าเป็นชื่อรวมๆของหลายเผ่า เช่น ม้ง กะเหรี่ยง มูเซอ อีก้อ อาขาบ แย้ว เป็นต้น แต่จริงๆแล้วเป็นชื่อของเผ่า "ม้ง" เพียงเผ่าเดียว ชาวม้งมีชาติกำเนิดมาจากประเทศจีนและมองโกเลีย คำว่า "ม้ง" ตามที่คนเฒ่าคนแก่กล่าวขานกันมา มาจากคำว่า "มอง" ของ "มองโกเลีย" ถ้าตามภาษาม้งแล้วจะพูดว่า "ม้งกู๋เล" ซึ่งแปลว่า ม้งของเรา

ส่วนคำว่า "แม้ว" เป็นชื่อย่อของกษัตริย์ม้งที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งซึ่งมีพระนามว่า "ซีแมว"

ผู้คนทั่วไปมักจดจำชาวม้งได้ดีเมื่อพบเห็นเพราะว่า ชาวม้งมีการแต่งกาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง สังเกตได้จากเครื่องแต่งกายของชาวม้ง ลวดลายที่สวยงามตามเสื้อผ้ามักจะปักด้วยมือ มีเหรียญเงินแท้ๆห้อยตามเสื้อผ้า ตั้งแต่หัวจดเท้า

นอกจากนั้นชาวม้งยังมี "ภาษาพูดและตัวอักษรเขียน" เป็นของตนเอง จึงทำให้เมื่อชาวม้งด้วยกัน ถึงจะอยู่มุมไหนของโลก เมื่อได้พบเจอกันจะคุยกันได้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นภาษาที่ตายตัว

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เหตุผลที่รัก ต้องมี ร เรือ และ ก ไก่
ถ้าจะพูดประโยคนี้เพื่อให้เท่ ๆ แบบงง ๆ ก็คงจะพอได้อยู่
แต่ถ้าจะพูดเพื่อเชื่อว่ามันเป็นอย่างนี้จริง ๆ แล้วล่ะก็..
เป็นเรื่องยากอยู่นะ ที่ความรักของเธอจะมั่นคงได้นาน
เพราะจริง ๆ แล้วความรักมีส่วนประกอบของมัน

ส่วนประกอบ...ที่ดึงออกมาได้จากตัวสะกด
ซึ่งก็คือ ร.เรือ กับ ก.ไก่ นั่นเอง
ร.เรือ คือรอคอย
ส่วน
ก.ไก่ คือ กันและกัน
แล้วเราก็จะมาดูกันว่า ทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับคำ "รัก" ยังไง

"รอคอย" คำ ๆ นี้คือบทพิสูจน์ชั้นยอด
ก็ความสนใจน่ะ อาจเกิดขึ้นได้ในตอนสบตากันวินาทีแรก
แต่ถ้าเมื่อไรก็ตาม ที่เธอเกิดไปคิดว่าเธอรักใครเพื่อเพราะสบตา
วินาทีแรกแล้วล่ะก็..เป็นเรื่อง! สัญญาณอันตรายแว่วมาแต่ไกลแล้วนะ
ก็ความรักมันไม่ได้เป็นเรื่องของสายตานี่นา

แต่ความรักเป็นเรื่องของหัวใจต่างหาก ฉะนั้น
ใช้ความแน่ใจรักกัน จึงย่อมดีกว่าใช้ความอ่อนไหวรักกัน
อย่ารีบร้อน อย่ารีบรัก เพราะถ้าคนนี้คือคนที่ใช่
ไม่ว่าจะยังไงก็ต้องรอคอยได้
รอคอยที่จะเรียนรู้นิสัยใจคอของอีกคนก่อน
ทำความรู้จักก่อนรัก อย่ารักแล้วค่อยรู้จักกัน
ไม่เช่นนั้น ปัญหาร้อยแปดจะตามมารุมสกัมสมองของเธอ

ส่วนคำว่า "กันและกัน" ควรจะเป็นคำที่นำมาใช้ หลังจากที่รักกันแล้ว

มีใครบางคนบอกไว้
"ข้อดีของการไม่มีความรักก็คือ
ไม่ว่าจะทำอะไรก็ติดสินใจเองได้เลย ไม่ต้องบอกใคร"
ซึ่งมันก็จริง เพราะถ้าไม่มีแฟน
สิ่งที่เราต้องมีอยู่แล้วก็คืออิสระ

แต่ถ้ามีแฟน ก็ไม่อยากให้เธอคิดว่า
ความรักคือสิ่งทำให้อิสระของชีวิตของเธอหายไป

ถ้าเข้าใจ แสดงว่า คุณพร้อมจะมี
"ความ รัก ที่ จริง ใจ" แล้วล่ะค่ะ ^_^

ความฝัน

ความฝัน คือประสบการณ์ของภาพ เสียง ข้อความ ความคิด หรือความรู้สึกในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยผู้ที่ฝันส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมได้
ความฝันมักจะเต็มไปด้วยความคิดในด้านต่างๆ ซึ่งความฝันสามารถเกิดได้ตั้งแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมจนถึงเรื่องเหลือเชื่อ รวมไปถึงเรื่องสนุกสนาน เรื่องตื่นเต้น เรื่องน่ากลัว เรื่องเศร้า ที่เรียกว่า
ฝันร้าย และในบางครั้งความฝันจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีผลต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการฝันเปียกในผู้ชาย หลายๆครั้งที่ความฝันเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านศิลปะให้แก่ผู้ที่ฝัน
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความฝันโดยอ้างอิงกับ
การเคลื่อนไหวของดวงตาขณะนอนหลับ (rapid eye movement, REM) การกระตุ้นของต่อมponsส่วนประกอบส่วนหนึ่งของก้านสมอง หรือการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า คนทุกคนเฉลี่ยแล้วจะมีความฝันในปริมาณที่เท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าบางคนจะรู้สึกว่าไม่ได้ฝันหรือนานๆทีจะได้มีความฝัน นั่นเพราะสาเหตุที่ว่าความฝันของบุคคลนั้นจางหายไปเมื่อตื่นนอน ความฝันมักจะเลือนหายถ้าสถานะของการฝันของบุคคลนั้นค่อยๆเปลี่ยนจาก
สถานะอาร์อีเอม เป็นสถานะเดลต้า และตื่นนอน ในทางกลับกันถ้าบุคคลนั้นตื่นขึ้นขณะที่อยู่สถานะอาร์อีเอม (เช่นตื่นโดยนาฬิกาปลุก) บุคคลนั้นมักจะจำเรื่องที่ฝันได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกความฝันที่จะถูกจำได้

ความฝันในสิ่งมีชีวิตอื่น
การวิจัยค้นพบว่าสัตว์ได้มีความฝันเช่นเกียวกับมนุษย์ โดยเมื่อสัตว์หลับอยู่ในสถานะอาร์อีเอม สัตว์จะมีความฝันเกิดขึ้น (ถึงแม้ว่าจะไม่มีการระบุเป็นรูปธรรมว่าสัตว์ฝันถึงเรื่องใด) สัตว์ที่มีระยะของสถานะอาร์อีเอมนานที่สุดคือ
อาร์มาดิลโลสัตว์ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายตัวตุ่น สัตว์ที่มีความฝันบ่อยสุดคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ประเภทนก อาจเนื่องมาจากลักษณะรูปแบบในการนอน กบเป็นสัตว์ไม่มีการนอนหลับยกเว้นในช่วงเวลาจำศีล ได้มีการทดสอบความฝันของแมวว่า แมวมักจะฝันถึงการล่าเหยื่อโดยอ้างอิงจากลักษณะการเคลื่อนไหวของขาและร่างกาย ในขณะที่สุนัขได้มีการเคลื่อนไหวของช่วงขาในลักษณะของการวิ่งรวมถึงการเห่าในขณะที่นอนหลับ

การศึกษา

การศึกษา หมายความถึง ทั้งการเรียน การสอน ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่ พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม้แต่ก่อนแรกเกิด
การจัดการศึกษาโดยทั่วไปในประเทศไทย แบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้
ระดับอนุบาล
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
การศึกษา ถือว่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิต โดยเฉพาะสังคมโลกปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ ยุคของการบริโภคข่าวสารข้อมูลไร้พรหมแดน นานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศผู้นำความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญของการศึกษาแก่ประชากรชาติอย่างมาก มีการจัดสรรงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในลำดับต้น ๆ ของการจัดสรรงบประมาณในแต่ละประเภทของประเทศ เช่นเดียวกันกับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของการให้การศึกษาประชาชนโดยมีการจัดสรรงบประมาณของรัฐในการบริหารประเทศด้านการศึกษาในระดับต้นมาตลอดทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 -2544) จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ฉบับปัจจุบัน พ.ศ.(2550 – 2554) ได้มุ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญในการพัฒนาทุกด้าน การพัฒนาประเทศระบุให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ทางด้านกฎหมายทางการศึกษาได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า จะมุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การศึกษาของประเทศไทยมีพัฒนาการอันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ที่มีการกำหนดให้มีอักษรไทยขึ้น และมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะข้าราชการและบุคลากรในวงจำกัดเท่านั้น ประชาชนทั่วไปจะเข้ารับการศึกษาจากผู้รู้และพระสงฆ์ในวัดเป็นส่วนใหญ่ การจัดการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมาจากการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก มีการส่งลูกหลาน ข้าราชบริภาร และเชื้อพระวงศ์ไปเข้ารับการศึกษาในต่างประเทศมากขึ้น จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเริ่มจัดตั้งโรงเรียนให้การศึกษาแก่ประชาชนขึ้นทั้งในพระราชวัง กรุงเทพฯ และขยายไปยังภูมิภาคในรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา สำหรับด้านการศึกษาผู้ใหญ่ก็มีพัฒนาการอันยาวนานเช่นเดียวกัน ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเมื่อปี พ.ศ. 2480 เมื่อประเทศไทยโดยรัฐบาลมีการสำรวจพบว่าประชากรชาติจำนวน 48.9% ยังอ่านหนังสือไม่ออกเขียนหนังสือไม่ได้ ทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญและสนใจในการแก้ไขปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือ โดยจัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ ขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2483 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน้าที่หลักการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ลดอัตราการไม่รู้หนังสือ การให้การศึกษาเพื่อการรู้หน้าที่พลเมือง และการสร้างเสริมระบอบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดการศึกษาผู้ใหญ่หลักสูตรมูลฐาน (Fundamental Education) โดยมีการกำหนดการเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับผู้ใหญ่ควบคู่ไปกับการเรียนรู้หนังสือ และหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2497 UNESCO และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งศูนย์อบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี (ศ.อ.ศ.อ.) เพื่อผลิตผู้นิเทศทางด้านการศึกษาพื้นฐานที่จะร่วมทำงานกับประชาชนในชนบท ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง ใช้หลักสูตร การศึกษา 2 ปี ผู้จบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรระดับประโยคครูมัธยมทางด้านการศึกษาพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยมีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีสภาพการไม่รู้หนังสือจำนวน ร้อยละ 23 ทำให้รัฐบาลหวนกลับมาให้ความสนใจในการขจัดการไม่รู้หนังสืออีกครั้งหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 1-2 โดยมีการผสมผสานการรู้หนังสือกับการสอนวิชาชีพเข้าด้วยกัน และปี พ.ศ. 2511 ได้นำแนวทางของ UNESCO มาแก้ไขผู้ไม่รู้หนังสือเรียกว่า “ การแก้ไขการไม่รู้หนังสือแบบสมกิจ” (Functional Literacy หรือ Worked Olientation Program) และพัฒนามาเป็น “หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ” โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท มุ่งเน้นให้ประชาชนนำข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางด้านวิชาการ มาตัดสินใจแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน และต่อมาได้รับการพัฒนาเป็นแนวคิด หลักการ และปรัชญา “คิดเป็น” ที่นักการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกโรงเรียนยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานและการปฏิบัติต่อไป ในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดโครงการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทอาสาสมัครเดินสอน ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทชั้นเรียน และขยายการจัดการศึกษาเป็นวงกว้างขึ้นในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ เช่นการสอนโดยนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การสอนโดยพระภิกษุ และการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทชาวเขา เป็นต้น จนถึง พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติจัดตั้ง กรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2522 โดยให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกโรงเรียนของกระทรวงศึกษามาเป็นหน่วยงานสังกัดเดียวกัน เพื่อให้การจัดการศึกษานอกโรงเรียนเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น และในปี พ.ศ. 2526 รัฐบาลมีการแก้ไขปัญหาการไม่รู้หนังสือของประชากรชาติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเรียกว่า “โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ” เพื่อขจัดคนไม่รู้หนังสืออายุระหว่าง 15-60 ปี ตามบัญชีรายชื่อให้หมดสิ้นภายในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง แนวคิดทางการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาเพื่อปวงชนได้ถูกนำมาพิจารณาและใช้ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนมากขึ้นเริ่มตั้งแต่การขยายหน่วยจัดและบริการการศึกษานอกโรงเรียนไปสู่ในพื้นที่มากขึ้น มีการทดลองดำเนินการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ทั่วประเทศ จำนวน 125 อำเภอ เพื่อกระจายการบริหารการจัดการศึกษานอกโรงเรียนไปสู่ระดับอำเภอ และมีการประกาศจัดตั้งสถานศึกษา “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต” โดยกระทรวงศึกษาธิการครบทุกอำเภอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน โดยมีแนวคิดว่าจะขยายการจัดและบริการการศึกษานอกโรงเรียนและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยไปสู่ประชาชนให้สะดวกและขยายได้มากที่สุด แนวคิดและแรงผลักดันของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน และการศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ หาดจอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี ที่ดำเนินการจัดโดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2533 ซึ่งในที่ประชุมประเทศสมาชิกได้กำหนดข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่า “ปฏิญญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน” (World Declaration on Education for All) เป็นพันธกิจที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ตามแนวทางการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Primary-Secondary Education) การส่งเสริมความรู้และทักษะพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต (Literacy) และ การศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) ซึ่งประเทศไทยเป็นทั้งเจ้าภาพในการจัดประชุมดังกล่าว และเป็นประเทศสมาชิก UNESCO ด้วย จึงให้ความสำคัญและส่งเสริมการจัดการศึกษาให้แพร่หลายกว้างขวาง ไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเช่นเดียวกัน สำหรับในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับชายแดนประเทศสหภาพพม่ายาวกว่า 400 กิโลเมตร มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ มูเซอ ลีซอ ม้ง ปะโอ ลั่วะ จีนฮ่อ และชนพื้นเมือง มีสภาพการเคลื่อนย้ายประชากรค่อนข้างสูงรวมถึงผู้อพยพพลัดถิ่น และหนีภัยจากการสู้รบประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก กอบร์กับภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ก่อให้เกิดสภาพการศึกษาต่ำ มีผู้ไม่รู้หนังสือ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ จปฐ. จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ประชากรวัยแรงงานอายุ 15 – 60 ปี มีการศึกษาเฉลี่ย เพียง 3.68 ปี เท่านั้น ในระหว่างที่การศึกษาของประชากรชาติอยู่ที่ 8.6 ปี สภาพของคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. หลายด้าน รวมทั้งด้านสุขภาพอนามัยและรายได้ ปัญหาของประชากร และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ประชากรโดยเฉพาะวัยแรงงานให้ความสนใจเข้ารับบริการการศึกษาจากภาครัฐน้อย เพราะประชาชนมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา และเห็นว่าการประกอบอาชีพและการทำมาหากินมีความสำคัญมากกว่าการเข้ารับการศึกษา เพราะในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างเช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษาที่รัฐจัดให้นั้นมีความแปลกแยกจากวิถีชีวิตจริง ประชาชนไม่รู้จะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับการศึกษานั้นมาใช้กับชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในบริบทของตนเองได้อย่างไร การศึกษาของรัฐจึงไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนได้เท่าที่ควร แนวคิดของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All และ All for Education) หรือปวงชนเพื่อการศึกษา เพื่อให้การศึกษาตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริง รวมถึงการนำเอาชุมชนที่มีศักยภาพมาช่วยเหลือ และจัดการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชนนั้น ๆ ที่ผู้วิจัย มีความสนใจ และศึกษานำมาเป็นแนวทางการการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนในชุมชน โดยใช้ชื่อที่ชุมชน ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจได้ง่ายว่า “รูปแบบการจัดการศึกษา 100% ในชุมชน” วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการศึกษา 100% ในชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการศึกษา 100% ในชุมชนประสบผลสำเร็จ ขอบเขตของการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา (Research & Development) เพื่อหารูปแบบของการจัดการศึกษาให้กับชุมชนตามแนวคิดของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (Education for All & All for Education) โดยใช้ขอบเขตพื้นที่ในการปฏิบัติงานดำเนินการจัดการศึกษาชุมชน ในชุมชนหมู่บ้านที่จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน หรือศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” แล้วแต่กรณี ที่พนักงานราชการ ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปฏิบัติงานอยู่ประจำหมู่บ้าน